การนำเข้าพวงหรีดของอารยธรรมตะวันตก

แท้จริงแล้วพวงหรีดมีต้นกำเนิดตั้งแต่สมัยอารยธรรมอีทรัสคันในแถบทวีปยุโรปตอนใต้ เนื่องจากมีการพบมงกุฎทองสำหรับนักรบเมื่อเวลาออกรบเพื่อเป็นเกียรติยศโดยแกะเป็นลายใบไม้และดอกไม้ อายุราว 400 ปีก่อนคริสตกาล จึงคาดว่ามงกุฎดังกล่าวอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทำพวงหรีด ต่อมาชาวคริสเตียนในศตวรรษที่ 16-19 ได้นำกระดาษและริบบิ้นมาตัดเป็นดอกไม้ใบไม้รูปพวงหรีดเพื่อเฉลิมฉลองในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสต์เจ้า (Advent) จากนั้นจึงได้เปลี่ยนมาใช้ดอกไม้สดแทน เพราะมีความสวยงามกว่า ซึ่งหน้าตาก็จะกลมๆ ประดับไปด้วยดอกไม้คล้ายพวงหรีดดอกไม้สดแบบใน หมวดพวงหรีดดอกไม้สด แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เพราะจะได้นำไปแขวนไว้ในโบสถ์ได้ ภายหลังในยุควิคตอเรียนความหมายของดอกไม้กว้างมากขึ้น พวงหรีดจึงถูกกลายเป็นสิ่งที่แสดงความอาลัยให้กับผู้ที่ตายด้วยเช่นเดียวกัน

เมื่อพวงหรีดเข้าประเทศไทย อารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายอย่างมากในยุคล่าอาณานิคม หรือในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการรับเอาอารยธรรมตะวันตกหลายอย่างเข้ามาในประเทศไทย โดยปรากฏหลักฐานภาพถ่ายการนำดอกไม้หลากหลายชนิดมาตกแต่งเป็นพวงกลมคล้ายพวงหรีดครั้งแรก ในพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ. 2447 ด้วยเหตุนี้เองทำให้คาดการณ์ได้ว่าพวงหรีดได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยและใช้เป็นสื่อแทนความโศกเศร้าตั้งแต่สมัยนั้น

หลังจากการนำเข้าอารยธรรมตะวันตกของรัชกาลที่ 5 ทำให้พวงหรีดได้เริ่มแพร่หลายในงานศพของชนชั้นสูงมากขึ้น จนกระทั่งเข้าถึงชนชั้นกลางไปจนถึงคนทั่วไป ซึ่งพวงหรีดนั้นไม่ได้มีเพียงความสวยงามเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีความหมายที่แฝงอยู่จากการใช้ดอกไม้ประดับพวงหรีด นั่นคือ ดอกไม้ย่อมเหี่ยวเฉาตามกาลเวลาเปรียบเสมือนกับชีวิตมนุษย์ที่ย่อมประสบการเกิดแก่เจ็บตายไม่ยั่งยืนนั่นเอง นอกจากนี้ดอกไม้ยังสามารถสื่อถึงความหมาย อารมณ์และความรู้สึกได้มาก ทำให้พวงหรีดกลายเป็นสัญลักษณ์ของการไปงานศพ กล่าวได้ว่าหากมีงานศพจะต้องมีพวงหรีดไว้แทนความอาลัยของผู้ที่ล่วงลับอยู่เสมอ https://www.iboon.co.th