แทงค์น้ำ สแตนเลสได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม

แทงค์น้ำ สแตนเลสได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสแตนเลสเป็นวัสดุที่เรารู้จักกันดี และใช้ในชีวิตประจำวันกันอยู่ โดยเฉพาะภาชนะใส่อาหาร เราจะเห็นว่า สแตนเลสเป็นวัสดุที่มีความสะอาด ทำความสะอาดง่าย แข็งแรง ทนทาน ไม่เกิดสนิม ผุกร่อนยาก ทำให้มีการใช้สแตนเลสในวงการแพทย์กันมาก ทั้งเป็นเครื่องมือแพทย์ เข็มฉีดยา มีด และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงในวงการอาหาร เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอาหาร ตั้งแต่ในขนาดอุตสาหกรรม ถึงในครัว ก็นิยมใช้สแตนเลสเป็นภาชนะ หรือวัสดุที่สัมผัสกับอาหารทั้งสิ้น ดังนั้นจึงมีการใช้สแตนเลสผลิตเป็น แทงค์น้ำ ซึ่งมีข้อดีหลายอย่าง นับเป็นภาชนะเก็บน้ำ ที่เหมาะสมกับบ้านเราในอันดับต้นๆ แต่ว่ามีแต่แบบแทงค์น้ำบนดิน ถ้าจะทำเป็นแทงค์น้ำใต้ดิน ต้องทำห้องให้อยู่ ซึ่งมีข้อดี – ข้อเสีย ดังนี้

ข้อดีของแทงค์น้ำสแตนเลส

1. ปลอดภัย ไม่สีสารเคมี ละลายออกมากับน้ำ เนื่องจากเป็นวัสดุที่คงตัว ทนทาน ไม่ผุกร่อน ไม่ซึมน้ำ
2. สะอาด ทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นสนิมในสภาวะปกติ ไม่เป็นเมือก ไม่มีตะไคร่ เนื่องจากทึบแสง (ปิดฝาแท้งค์ไมให้แสงเข้า)
3. แทงค์น้ำแบบก้นนูนมีขาตั้ง ติดตั้งท่อระบายตะกอนที่ก้นแท้งค์ได้ ทำความสะอาดภายในแทงค์น้ำได้ง่าย เนื่องจากสแตนเลสแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักน้ำด้วยตัวเองได้ จึงทำขาตั้งได้ และทำความสะอาด พื้นที่ตั้งแท้งค์ได้ง่าย
4. ข้อต่อท่อเป็นสแตนเลสเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกับตัวแท้งค์ แข็งแรง ไม่หลุดออกจากแทงค์น้ำ
5. ไม่แตกเมื่อถูกกระแทก แต่จะบุบ เป็นรอย เพราะสแตนเลสเป็นวัสดุที่เหนียว แตกยาก
6. น้ำหนักเบา ขนส่ง ติดตั้งง่าย
7. มีความสวยงาม ด้วยวัสดุที่เงางาม และบางยี่ห้อขั้นลายที่ตัวถัง ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทาง สำหรับผู้ที่ชอบ

ข้อเสียแทงค์น้ำ

1. ตัวแทงค์น้ำทำด้วยแผ่นสแตนเลสเชื่อมต่อกันด้วยไฟฟ้า อาจเกิดการรั่วซึม
2. อาจเกิดสนิมที่รอยเชื่อม ต้องทาวัสดุกันสนิมที่รอยเชื่อม
3. น้ำหนักเบา แทงค์น้ำเปล่าอาจถูกลมพัดล้มได้ถ้าติดตั้งในที่ลมแรง หรือติดตั้งบนดาดฟ้า
4. ไม่เหมาะกับน้ำกร่อย น้ำทะเล จะทำให้เกิดสนิมได้ง่าย

การนำเข้าพวงหรีดของอารยธรรมตะวันตก

แท้จริงแล้วพวงหรีดมีต้นกำเนิดตั้งแต่สมัยอารยธรรมอีทรัสคันในแถบทวีปยุโรปตอนใต้ เนื่องจากมีการพบมงกุฎทองสำหรับนักรบเมื่อเวลาออกรบเพื่อเป็นเกียรติยศโดยแกะเป็นลายใบไม้และดอกไม้ อายุราว 400 ปีก่อนคริสตกาล จึงคาดว่ามงกุฎดังกล่าวอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทำพวงหรีด ต่อมาชาวคริสเตียนในศตวรรษที่ 16-19 ได้นำกระดาษและริบบิ้นมาตัดเป็นดอกไม้ใบไม้รูปพวงหรีดเพื่อเฉลิมฉลองในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสต์เจ้า (Advent) จากนั้นจึงได้เปลี่ยนมาใช้ดอกไม้สดแทน เพราะมีความสวยงามกว่า ซึ่งหน้าตาก็จะกลมๆ ประดับไปด้วยดอกไม้คล้ายพวงหรีดดอกไม้สดแบบใน หมวดพวงหรีดดอกไม้สด แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เพราะจะได้นำไปแขวนไว้ในโบสถ์ได้ ภายหลังในยุควิคตอเรียนความหมายของดอกไม้กว้างมากขึ้น พวงหรีดจึงถูกกลายเป็นสิ่งที่แสดงความอาลัยให้กับผู้ที่ตายด้วยเช่นเดียวกัน

เมื่อพวงหรีดเข้าประเทศไทย อารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายอย่างมากในยุคล่าอาณานิคม หรือในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการรับเอาอารยธรรมตะวันตกหลายอย่างเข้ามาในประเทศไทย โดยปรากฏหลักฐานภาพถ่ายการนำดอกไม้หลากหลายชนิดมาตกแต่งเป็นพวงกลมคล้ายพวงหรีดครั้งแรก ในพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ. 2447 ด้วยเหตุนี้เองทำให้คาดการณ์ได้ว่าพวงหรีดได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยและใช้เป็นสื่อแทนความโศกเศร้าตั้งแต่สมัยนั้น

หลังจากการนำเข้าอารยธรรมตะวันตกของรัชกาลที่ 5 ทำให้พวงหรีดได้เริ่มแพร่หลายในงานศพของชนชั้นสูงมากขึ้น จนกระทั่งเข้าถึงชนชั้นกลางไปจนถึงคนทั่วไป ซึ่งพวงหรีดนั้นไม่ได้มีเพียงความสวยงามเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีความหมายที่แฝงอยู่จากการใช้ดอกไม้ประดับพวงหรีด นั่นคือ ดอกไม้ย่อมเหี่ยวเฉาตามกาลเวลาเปรียบเสมือนกับชีวิตมนุษย์ที่ย่อมประสบการเกิดแก่เจ็บตายไม่ยั่งยืนนั่นเอง นอกจากนี้ดอกไม้ยังสามารถสื่อถึงความหมาย อารมณ์และความรู้สึกได้มาก ทำให้พวงหรีดกลายเป็นสัญลักษณ์ของการไปงานศพ กล่าวได้ว่าหากมีงานศพจะต้องมีพวงหรีดไว้แทนความอาลัยของผู้ที่ล่วงลับอยู่เสมอ https://www.iboon.co.th