ทำไมต้องมี เครื่องทำลมแห้ง

โดยปกติลมที่ถูกดูดเข้าสู่ปั๊มลม จะมีไอน้ำเข้ามาด้วย 100% ซึ่งจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเมื่อลมอัดเย็นลง น้ำที่เกิดขึ้นกับลมอัดนี้จะทำลายระบบลม เช่น ทำให้ท่อลมเกิดสนิม ทำให้ระบบนิวเมตริกทำงานผิดพลาด ทำให้เครื่องจักรกลชำรุดเสียหาย เช่น เครื่องตัดเลเซอร์ เมื่อมีน้ำในลมอัดจะทำให้หัวเลเซอร์ชำรุดได้ ฯลฯ นอกจากนั้นยังอาจทำความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ผลิตขึ้น เช่น งานพ่นสีหรืองานสิ่งพิมพ์ เมื่อมีน้ำในลมอัดจะทำให้สีเพี้ยน งานผลิตอาหาร งานบรรจุภัณฑ์ งานเหล่านี้หากมีน้ำเข้าปลอมปนจะเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ จำเป็นต้องทำลายทิ้งเท่านั้น ฯลฯ

เครื่องทำลมแห้งยี่ห้อไหนดี

มีหลักการง่ายๆคือทำให้ลมอัดเย็นตัวลงให้มากที่สุด ไอน้ำในลมอัดจะเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (condense) การทำงานของเครื่องทำลมแห้งจึงเหมือนกับตู้เย็น เพียงนำลมอัดผ่านช่องแซ่แข็ง (evaporator) ลมอัดก็เย็นตัวลง แต่เครื่องทำลมแห้งจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกับตู้เย็นหลายประการรายละเอียดดังนี้

1. Pre-cooler (แผงลดอุณหภูมิในเบื้องต้น)

Pre-cooler มีคุณประโยชน์ใหญ่ 2 ประการ คือ ช่วยลดอุณหภูมิลมอัดก่อนเข้าทำความเย็น และช่วยเพิ่มอุณหภูมิลมขาออกไม่ให้ต่ำเกินไป อุณหภูมิลมอัดจากปั๊มลมอยู่ประมาณ 45 – 60 องศาเซลเซียส ขึ้นกับอุณหภูมิห้อง หากจะทำความเย็นให้เหลือ 3 องศา ต้องใช้คอมเพลสเซอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าขึ้นอีก หากใช้คอมเพลสเซอร์ขนาดเล็กไป ความร้อนจากลมอัดจะสะสมสูงจนทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ pre-cooler ใช้ลมขาออกซึ่งผ่านชุดทำความเย็นแล้ว แยกน้ำทิ้งแล้ว แต่มีอุณหภูมิเพียง 3 องศา นำไปแลกเปลี่ยนความร้อนกับลมขาเข้าให้ต่ำลง ก่อนเข้าชุดอีแวปฯ คอมเพรสเซอร์ก็ทำงานเบาลง ประหยัดไฟฟ้ายิ่งขึ้น ลมขาออกเมื่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับลมขาเข้าแล้ว จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 20-30 องศาเซลเซียส ซึ่งพอเหมาะกับการใช้งาน หากต่ำกว่านี้ท่อลมจะเป็นหยดน้ำเกาะตลอดแนว และหยดเปียกเลอะเทอะ ทำความเสียหายกับพื้นที่รอบๆได้ ชุด pre-cooler จึงมีประโยชน์มาก แต่ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักตัดออกเพื่อลดต้นทุน HiFoss air dryer ใช้ pre-cooler ขนาดใหญ่ จึงสามารถรับอุณหภูมิลมอัดได้ถึง 80 องศาเซลเซียส (high temperature) และช่วยให้ประหยัดพลังงาน

2. Evaporator (แผงทำความเย็น)

ชุดอีแวปฯ ทำหน้าที่ให้ความเย็นกับลมอัดที่เข้ามา เมื่ออุณหูมิลดลงไอน้ำก็กลั่นตัวเป็นหยดน้ำ แยกตัวจากลมอัด ทำให้ลมแห้งลง HiFoss air dryer ออกแบบอีแวปฯ อุณหภูมิที่ 2-3 องศาเซลเซียส (dew point) ใกล้จุดเยือกแข็งที่สุด หากต่ำกว่านี้น้ำที่กลั่นตัวจะกลายเป็นน้ำแข็งอุดตันท่อลมได้

3. Water separator (ชุดแยกน้ำทิ้ง)

ชุดแยกน้ำรับน้ำที่กลั่นตัวจาก pre-cooler และ evaporator มากักเก็บไว้ให้ห้องดักน้ำ ซึ่งออกแบบให้มีแผงดักน้ำหลายชั้น ห้องสลัดน้ำขนาดใหญ่ ดักน้ำได้ดีกว่า ให้เหลือน้ำในลมน้อยที่สุด

4. Condensor (แผงระบายความร้อนน้ำยาทำความเย็น)

แผงระบายความร้อนน้ำยาทำความเย็น ทำหน้าที่เหมือนลดอุณหภูมิน้ำยาทำความเย็นที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ HiFoss ใช้แผงระบายความร้อนขนาดใหญ่ ใช้พัดลมระบายความร้อน หลายตัวขึ้นกับขนาดแผง

5. Compressor (ตัวอัดน้ำยาหรือคอมเพรสเซอร์)

ตัวอัดน้ำยาทำความเย็นเหมือนในเครื่องปรับอากาศหรือตู้เย็นทั่วๆไป

6. Gas separator (ตัวแยกน้ำยาทำความเย็น)

หลังจากการอัดน้ำยาทำความเย็น จากคอมเพรสเซอร์ อาจมีน้ำมันหล่อลื่นปนมากับน้ำยาทำความเย็น ซึ่งน้ำมันนี้อาจไปสะสมในแผงระบายความร้อนหรือในอีแวปฯ ทำให้ลดประสิทธิภาพการทำความเย็นได้ ชุดแยกน้ำยาทำความเย็นจะแยกน้ำมันออกและปล่อยกลับเข้าหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์อีกครั้ง ช่วยยืดอายุคอมเพรสเซอร์ให้ทนทานมากขึ้น

7. Hi-Lo pressure switch (สวิทซ์แรงดันสูง-ต่ำ)

เมื่อแรงดันน้ำยาทำความเย็นต่ำเกินไป อาจเกิดจากท่อน้ำยารั่ว หรือแรงดันอาจสูงเกินไป เนื่องจากการอุดตันในระบบ หรือความร้อนเกิน สวิทซ์แรงดันจะตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เพื่อป้องกันความเสียหาย

8. Drying filter (ตัวกรองน้ำยาทำความเย็น)

ตัวกรองน้ำยาทำความเย็น ดักตะกอนและดูดความชื้นจากน้ำยาทำความเย็น ให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นเพิ่มขึ้น

9. Expansion valve (หัวฉีดน้ำยา)

หัวฉีดน้ำยาทำความเย็นที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ ลดแรงดันน้ำยาให้เกิดการขยายตัวของก๊าซ เกิดการลดอุณหภูมิเป็นความเย็นเข้าในชุดอีแวปฯ

10. Hot gas by pass valve (วาวล์บายพาสน้ำยาทำความเย็น)

การควบคุมอุณหภูมิของลมอัดให้คงที่ HiFoss air dryer ไม่ใช้วิธี thermostat control เนื่องจากเมื่อคอมเพรสเซอร์หยุด ต้องหน่วงเวลาอีก 3 นาทีจึงสตาร์ทใหม่ได้ แต่ลมอัดที่เข้ามาต่อเนื่องจะไม่ถูกลดอุณหภูมิในระหว่างนี้ HiFoss จึงใช้วิธีบายพาสน้ำยา หรือลัดน้ำยาให้กลับสู่คอมเพรสเซอร์ ไม่ให้ฉีดเข้าอีแวปฯ เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 2 องศา และฉีดน้ำอีกเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 3 องศา อุณหภูมิลมอัดจึงคงที่ ไม่ขึ้นๆลงๆเหมือนวิธี thermostat control ชุด by pass valve ของ HiFoss เป็นแบบ constant pressure by-pass valve ทำงานอัตโนมัติด้วยการรักษาแรงดันให้คงที่ ไม่ใช้โซลินอยไฟฟ้าควบคุม เนื่องจากระบบไฟฟ้าชำรุดเสียหายง่ายกว่า การดูแลรักษายากกว่า การซ่อมแซมแพงกว่า อะไหล่หายากกว่า ระบบ by-pass valve ของ HiFoss จึงให้เสถียรภาพความคงทนสูงกว่า ราคาถูกกว่าระบบอื่นๆ

11. Thermo switch (เทอร์โมสวิทซ์)

HiFoss ควบคุมพัดลมระบายความร้อนให้ทำงานเมื่ออุณหภูมิน้ำยาความเย็นสูงเกินเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำงานตลอดเวลา จึงเป็นประหยัดพลังงาน และยืดอายุพัดลม ถึงแม้ว่าจะเพิ่มต้นทุนเครื่องขึ้นแต่สามารถประหยัดในระยะยาว

12. Auto-drain valve (ตัวถ่ายน้ำอัตโนมัติ)

หยดน้ำที่รวมตัวจากชุดแยกน้ำ จะไหลเข้าสู่ชุดถ่ายน้ำอัตโนมัติ ซึ่งจะทำงานเมื่อมีน้ำสะสมถึงระดับเท่านั้น จึงลดการสูญเสียลมอัดประหยัดพลังงาน และลดการดูแลรักษา